ข้อมูลพื้นฐานของอำเภอหาดใหญ่

ข้อมูลพื้นฐานของอำเภอหาดใหญ่

ประวัติหาดใหญ่

หาดใหญ่ เป็นชื่อรวมของหมู่บ้านโคกเสม็ดชุนและบ้านหาดใหญ่ เดิมดินแดนหาดใหญ่เป็นเนินสูงมีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก การคมนาคมไม่สะดวก เป็นป่าต้นเสม็ดชุน โดยทั่วไปชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านโคกเสม็ดชุน เมื่อ ทางการได้ตัดทางรถไฟมาถึงท้องถิ่นนี้ จึงมีประชาชนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินและมากขึ้นเป็นลำดับ สมัยนั้นสถานีชุมทางรถไฟอยู่ที่สถานีอู่ตะเภา (ด้านเหนือของสถานีรถไฟหาดใหญ่ใน ปัจจุบันเป็นเพียงที่หยุดรถไฟ) เนื่องจากสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่มทำให้น้ำท่วมเป็นประจำ ทางการรถไฟจึงได้ย้ายสถานีมาอยู่ที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ในปัจจุบัน ประชาชนจึงได้ทยอยติดตามมาสร้างบ้านเรือนบริเวณสถานีนั่นเอง จึงอาจกล่าวได้ว่ากิจการรถไฟมีบทบาทต่อการขยับขยายและความเจริญก้าวหน้าของ เมืองหาดใหญ่ตลอดมา

ต่อมาได้มีผู้เห็นการณ์ไกลว่าบริเวณสถานีรถไฟหาดใหญ่นี้ ต่อไปภายหน้าจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน จึงได้มีการจับจองและซื้อที่ดินแปลงใหญ่จากราษฎรในพื้นที่ ซึ่งบุคคลที่ครอบครองที่ดินผืนใหญ่ ๆ อาทิ นายเจียกีซี (ต่อมาได้รับพระราชทานนามเป็นขุนนิพัทธ์จีนนคร) คุณพระเสน่หามนตรี นายซีกิมหยง และพระยาอรรถกระวีสุนทร ทั้ง 4 ท่านนี้นับว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่ เมืองหาดใหญ่อย่างแท้จริง โดยได้ทำการตัดถนน สร้างอาคารบ้านเรือนให้ราษฎรเช่า ตัดที่ดินแบ่งขาย และเงินที่ได้ก็นำไปตัดถนนสายใหม่ต่อไป ทำให้ชุมชนหาดใหญ่เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทางราชการต้องยกฐานะให้บ้านหาดใหญ่เป็นอำเภอที่มีชื่อว่า “อำเภอเหนือ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอเหนือเป็น “อำเภอหาดใหญ่” และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอชั้นเอกในที่สุด

ปี พ.ศ. 2471 หาดใหญ่มีฐานะเป็น “สุขาภิบาลหาดใหญ่” ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2471 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2471

ต่อมาสุขาภิบาลแห่งนี้ได้เจริญขึ้น มีพลเมืองหนาแน่นขึ้น และมีกิจการเจริญก้าวหน้า ในปี พ.ศ. 2478 กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศพระราชกฤษฎีกายกฐานะสุขาภิบาลหาดใหญ่ขึ้นเป็น “ตำบลหาดใหญ่” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2478 ซึ่งในขณะนั้นมีเนื้อที่ 5 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2492 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลตำบลหาดใหญ่เป็น “เทศบาลเมืองหาดใหญ่” เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2492 ตามประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 15 มีนาคม 2492

ในปี พ.ศ. 2504 ได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลจากเนื้อที่ 5 ตารางกิโลเมตร เพิ่มอีก 3 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ 8 ตารางกิโลเมตร ตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2504

ในปี พ.ศ. 2520 จึงได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จากเนื้อที่ 8 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นอีก 13 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2520 ตามพระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 12 เมษายน 2520

นับได้ว่าเทศบาลเมืองหาดใหญ่เป็นเทศบาลชั้นหนึ่งที่มี ความเจริญก้าวหน้า มีประชากรหนาแน่น ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการเป็นเมืองท่องเที่ยว ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงไป ได้แก่ ศาสนาอิสลาม ซึ่งมีประชากรร้อยละ 10 เท่านั้น อาชีพของราษฎร ได้แก่ การกสิกรรม การค้า และการอุตสาหกรรม การกสิกรรมเป็นอาชีพสำคัญมากชนิดหนึ่งแต่จะดำเนินการแต่เพียงรอบนอก

ส่วนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่จะทำด้านการค้า ซึ่งมีทั้งขายปลีกและ ขายส่ง ปัจจุบันกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การรมควันยาง โรงน้ำแข็ง ปลาป่น แปรรูปไม้ โรงสีข้าว และอื่น ๆ อุตสาหกรรมสำคัญอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมจากเทศบาล และมีการตอบสนองเป็นอย่างดีจากภาคเอกชน คือ การท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า โรงแรม บริการนำเที่ยว บาร์ ไนท์คลับ ห้องอาหาร และบริการอื่น ๆ

ส่วนของการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีสถาบันการศึกษาทุกระดับตั้งแต่มหาวิทยาลัย วิทยาลัยอาชีวศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ ทั้งของรัฐและเอกชนมากมาย จึงจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีความก้าวหน้าทางการศึกษาสูงมาก ในด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาลของรัฐ 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลหาดใหญ่  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และ โรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์ ซึ่งโรงพยาบาลเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นโรงพยาบาลชั้นนำสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางจนทัดเทียมกับส่วนกลาง

ส่วนสถานพยาบาลเอกชนก็มีไม่น้อย การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลจึงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก นอกจากนี้หาดใหญ่ยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบกและทางอากาศ มีสนามบินพาณิชย์ขนาดใหญ่อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร หาดใหญ่ยังเป็นชุมทางรถไฟ และศูนย์กลางทางด้านคมนาคม

และด้วยศักยภาพที่โดดเด่นและพร้อมด้วยคุณลักษณะ รวมไปถึงวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลของผู้บริหาร ทำให้เทศบาลเมืองหาดใหญ่ได้ยกฐานะเป็น “เทศบาลนครหาดใหญ่” ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกาเล่มที่ 112 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2538 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2538 ซึ่งปัจจุบันเทศบาลนครหาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 158,218 คน และ 58,434 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2555)

เทศบาลนครหาดใหญ่

เทศบาลนครหาดใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 445 ถนนเพชรเกษม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2471 มีฐานะเป็นสุขาภิบาล ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2471 พ.ศ. 2478 กระทรวงมหาดไทยประกาศพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะสุขาภิบาลหาดใหญ่เป็น “เทศบาลตำบลหาดใหญ่” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2478 ซึ่งในขณะนั้นมีเนื้อที่ 5 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 5,000 คน รวมถึงมีรายได้ประมาณ 60,000 บาท

พ.ศ. 2492 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลตำบลหาดใหญ่เป็น “เทศบาลเมืองหาดใหญ่” เมื่อ วันที่ 16 มีนาคม 2492 ตามพระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 15 มีนาคม 2492 ในขณะนั้นมีเนื้อที่ 5 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 19,425 คน มีรายได้ 3,745,233.33 บาท

พ.ศ. 2504 เนื่องจากท้องที่ในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ได้เจริญขึ้นและมีประชากรอาศัยอยู่ อย่างหนาแน่น จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จากเนื้อที่ 5 ตารางกิโลเมตร เพิ่มอีก 3 ตารางกิโลเมตร รวมเนื้อที่ 8 ตารางกิโลเมตร ตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 ประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2504 ในขณะนั้นมีประชากร 38,162 คน มีรายได้ 3,854,964.17 บาท

พ.ศ. 2520 เนื่องจากเขตเทศบาลได้เจริญขึ้น มีประชากรอาศัยหนาแน่นขึ้น และเพื่อประโยชน์ในการบริหารและทำนุบำรุงท้องถิ่น จึงได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จากเนื้อที่ 8 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นอีก 13 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ 21 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2520 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 12 เมษายน 2520 ในขณะนั้นมีประชากร 68,142 คน มีรายได้ประมาณ 49,774,588.78 บาท

พ.ศ. 2538 หาดใหญ่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบกและทางอากาศ ทำให้ยกฐานะจากเทศบาลเมืองหาดใหญ่เป็น“เทศบาลนครหาดใหญ่” ตาม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับฎีกาเล่มที่ 112 ตอนที่ 40ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2538 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2538

 ตราสัญลักษณ์

ความหมายดวงตราของเทศบาลนครหาดใหญ่

ดวงตราของเทศบาลนครหาดใหญ่มีลักษณะเป็นรูปช้างเอราวัณยืนบนแท่น และให้ช้างเอราวัณทูนพานรองรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอยู่บนเศียร รัศมีเป็นแฉกแผ่ออกไปรอบ ๆ พานรัฐธรรมนูญ อันแสดงให้เห็นเป็นความหมายว่า รัฐธรรมนูญจะรุ่งเรืองมีแสงสว่างพวยพุ่งกระจายแผ่ไปทั่วทุกทิศทุกทาง มีคำว่า “เทศบาลตำบลหาดใหญ่” ไว้ด้านล่างใต้แท่นช้างเอราวัณ ตัวอักษรเป็นแนวโค้งขึ้นไปรับกับรัศมีทั้งสองข้าง เป็นรูปไข่สวยงาม ดวงตราเทศบาลตำบลหาดใหญ่ เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา โดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย และดวงตรานี้เป็นดวงตราเริ่มแรกที่ใช้เป็นตราหัวกระดาษพิมพ์ และหลังจากนั้นได้จัดทำดวงตราเป็นรูปวงกลมขึ้น มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.8 เซนติเมตร และเมื่อเทศบาลตำบลหาดใหญ่ ได้รับการยกฐานะ จึงจัดทำดวงตราใหม่ เปลี่ยนนามเทศบาลในดวงตราจากเทศบาลตำบลหาดใหญ่ เป็นเทศบาลเมืองหาดใหญ่ และเทศบาลนครหาดใหญ่

 วัดมหัตตมังคลาราม

วัดมหัตตมังคลาราม  หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  “วัดหาดใหญ่ใน”  ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังตลาดหาดใหญ่ใน  ริมคลองอู่ตะเภา  แต่ภายในวัดยังคงร่มรื่น  เงียบสงบ  จึงมีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาทำบุญเป็นจำนวนมาก  และนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมากราบไหว้พระนอนขนาดใหญ่  “พระพุทธมหัตตมงคล”  มีความยาว  35  เมตร  สูง  15  เมตร  และกว้าง  10  เมตร ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก

 

ตลาดกรีนเวย์

ตลาดเปิดท้ายแหล่งช้อปของมือ 2  สินค้าแบกะดินหลายหลาก  ในราคาสบายกระเป๋า  ตั้งอยู่บริเวณสามแยกคลองเรียนข้างวิทยาลัยหลวงประธานราษฎร์นิกร  เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์  เวลา17.00 – 21.00 น.

อควาเรียมสงขลา

จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่มีลักษณะโดดเด่นไม่เหมือนใครของอควาเรียมแห่งนี้  คือ  การรวบรวมพันธุ์สัตว์ดินแดน  3  น้ำ  ซึ่งมีเฉพาะที่จังหวัดสงขลา  เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมือง  2  ทะเล  คือ  มีอ่าวไทยและทะเลสาบ  ทำให้เป็นดินแดน  3  น้ำ  คือ  มีทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม  และน้ำกร่อย  ซึ่งทำให้มีสัตว์น้ำที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยเฉพาะพื้นที่แห่งนี้เท่านั้น

 

 

 

ข้อมูลตลาดแรงงาน

*ข้อมูลตลาดแรงงาน*

    

 

ข้อมูลอาคารสถานที่

ข้อมูลอาคารสถานที่1. อาคารเรียน 1 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น

1. อาคารเรียน 1 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น

 

 

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

2. อาคารเรียน 2 เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น

 

3. อาคารเรียน 3 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น 

4. อาคารประกอบการ 1 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว

 

5. อาคารประกอบการ 2 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว

 

6. อาคารประกอบการ 3 เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว

7. ห้องน้ำนักเรียน 6 ห้อง

8. พื้นที่นันทนาการ

9.สำนักงานครูเวร

10.สิ่งศักดิ์สิทธ์ประจำวิทยาลัย

พระผุด

พระวิศนุกรรม